วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์แบบครูมืออาชีพ
 กับ ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส

ประเด็นสำคัญ ในบทความเรื่องนี้ก็ คือ จะเน้นในผู้เรียนเป็นสำคัญตัวนักเรียนเป็นหลักการเรียนนั้นไม่ใช่ว่าจะแค่เรียน ๆ ไปแค่ให้รู้แต่จะต้องเรียนแล้วต้องรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียน สามารถที่จะวิเคราะห์ต่อยอดความคิดให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนไปเพื่อให้รู้รากเหง้าของตนเองเกิดความหวงแหนรักชาติ มีความผูกพันและจพไม่คิดทำร้ายชาติสามารถที่จะนำประสบการณ์จากอดีตมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน  สังคมขอเราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมรับวัฒนธรรมจากที่อื่นมาแต่เราจะต้องไม่ลืมวัฒนธรรมของตนเอง ในสังคมปัจจุบันการมีสื่อที่ทันสมัยในหลายๆด้านจะต้องจักการจัดการข้อมูลข่าวสาร จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่าครูกับนักเรียนร่วมกัน
การพัฒนาครูมืออาชีพ การจะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ครูจะมีการทำอย่างไร มีการอบรมครูที่เป็นโครงการพัฒนาครู 4 ภูมิภาคเช่น การแบ่งครูออกเป็นกลุ่มให้เลือกสถานที่ที่สนใจ
1.จะไปสืบอะไร               
2.ที่มาของประวัติ   
3.การแบ่งกลุ่มกันยังไง 
4.การนำเสนออย่างไร      
5.ประโยชน์  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าในปัจจุบันจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร อดีตเป็นบทเรียน อนาคตจะได้ไม่เสียหาย  ครูสามารถจะบูรณาการรายวิชาอื่นๆเข้ากันได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นการต่อยอดความคิด
นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร 
ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อน พัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจ ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาตนอยู่เสมอ  จะต้องเน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญพร้อมจะเปิดโอกาศเสนอแนะในสิ่งที่ขาดเป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก มีการวางแผนที่ดี
ทำให้เกิดตัวนักศึกษาได้คือ
1.การพัฒนาตนเองให้ทีความพร้อมในทุกๆด้านก่อนที่จะออกสังเกตกาเรียนการสอนก็ต้องวางแผนขั้นตอนลำดับการต่างๆให้ดี และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2.เปิดโอกาศให้ตนเองก่อนคือต้องกล้าทำ กล้าคิด
3.แสดงความคิดเห็นที่เหมาะสม
4.การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการสังเกตการเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น