วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11


1) การวิเคราะห์หลักสูตร
                หมายถึง  เป็นเทคนิควิธีการ ที่จะช่วยให้ผู้สอนทราบว่า จะต้องสอนและประเมินผลอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรแต่ละวิชากำหนดไว้
  2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
                หมายถึง  การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อม ในกาเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้อง เลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน 
   3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย       หมายถึง  ในการจัดกิจกรรม ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ให้เรียนให้ผู้เรียน
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
                หมายถึง การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
          จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน
เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู


แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระ ประวัติศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความเป็นมาชุมชนของเราและชาติไทย     เวลา 3 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง ประวัติบ้านหนองพลวง    เวลา 1 ชั่วโมง
.......................................................................................................................................................................
มาตรฐาน ส 4.3
เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจและดำรงความเป็นไทย
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น 1
รู้จักและเข้าใจความเป็นมาของท้องถิ่นของตนที่สัมพันธ์กับความเป็นมาของชาติไทย
1. ความคิดรวบยอดหลัก
สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม กาลเวลาทำให้ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไปในสรรพสิ่ง ไม่มีวิวัฒนาการใด ๆ รุดหน้าเท่าความเจริญของมนุษย์ โรงเรียนบ้านหนองพลวงจากอดีตถึงปัจจุบันมีวิวัฒนาการอย่างยั้งยืนและมั่นคง
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เล่าประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของโรงเรียนได้
2. บอกแหล่งสืบค้นข้อมูลประวัติโรงเรียนได้
3. ระบุความเปลี่ยนแปลงโรงเรียนบ้านหนองพลวงแต่ละ ยุคสมัยได้
3. สาระการเรียนรู้
1. วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง
- ความเป็นมาของโรงเรียนแต่ละยุค
- วิวัฒนาการที่ผลต่อการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
4. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ทดสอบก่อนเรียน จำนวน 5 ข้อ
2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เู้รื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง
3. สนทนาทบทวนเรื่องราวประวัติโรงเรียนบ้านหนองพลวงกับนักเรียน ครู
กระตุ้นให้นักเรียนคิดว่า สิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญของโรงเรียนของเราน่าจะได้แก่ อะไรบ้าง
4. สุ่มนักเรียนในห้อง 6 คน นักเรียนจากหมู่บ้านหนองพลวง บ้านหนองยาว และ
บ้านสระเพนียด ให้ยกตัวอย่างสิ่งที่นักเรียนถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ๆ ที่มีขึ้นในครอบครัวและหมู่บ้านของตน ได้แก่ ใครบ้าง
นักเรียนบ้านบ้านหนองพลวง
- คนที่ 1 .............................................................
- คนที่ 2 .............................................................
นักเรียนบ้านบ้านหนองยาง
- คนที่ 1 .............................................................
- คนที่ 2 .............................................................
นักเรียนบ้านบ้านสระเพนียด
- คนที่ 1 .............................................................
- คนที่ 2 .............................................................
ครูเขียนบันทึกสิ่งที่นักเรียนบอกไว้บนกระดานทุกคน ทุกคำบอกเล่าครูชมเชยนักเรียนที่ออกมาบอกสิ่งใหม่ ๆ ที่นักเรียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านของตน แล้วเชิญชวนให้ทุกคนปรบมือให้กำลังใจ
5. นักเรียนเข้ากลุ่ม จากนักเรียน 15 คน
- กลุ่มที่ 1 นักเรียนจากหมู่บ้านหนองพลวง 6 คน
- กลุ่มที่ 2 นักเรียนจากหมู่บ้านหนองยาว 4 คน
- กลุ่มที่ 3 นักเรียนจากหมู่บ้านสระเพนียด 5 คน
6. แจก หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง ให้
นักเรียนคนละ 1เล่ม ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอ่านและวิธีใช้หนังสือ ตลอดถึงการทำความเข้าใจสาระความรู้จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม ให้นักเรียนเก่งนำอ่านทีละวรรค นักเรียนทั้งหมดในห้องอ่านตาม เมื่อถึงภาพประกอบในเล่ม ให้นักเรียนหยุดอ่าน แล้วครูอธิบายภาพต่าง ๆ ในหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง โดยเน้นคุณงามความดีของคุณครู ผู้มีอุการะคุณหรือศิษย์เก่า ที่นำความเจริญรงุ่ เรืองมาสู่โรงเรียน โดยมอบหมายให้กลุ่มต่าง ๆ ร่วมกันคิดและรวบรวม สิ่งต่อไปนี้
- นักเรียนกลุ่มที่ 1 สิ่งใหม่ ๆ เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมีอะไรบ้านนอกเหนือจากในหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง
- นักเรียนกลุ่มที่ 2 ร่วมกันคิด ว่า โรงเรียนของเราในปัจจุบัน ดีกว่ายุคเริ่มแรกอย่างไรบ้าง
- นักเรียนกลุ่มที่ 3 ไปสอบถามคุณครูท่านอื่น ๆ ว่าจะไปสอบถามหาข้อมูลสิ่งต่อไปนี้ที่ใด
     1) อาคารเรียนแต่ละหลัง สร้างเมื่อไร
     2) ทำเนียบคุณครู
     3) กรรมการสถานศึกษา
     4) ศิษย์เก่าดีเด่น
     5) จำนวนนักเรียนทั้งหมด ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและนักเรียนปัจจุบัน
7. ครู นักเรียนร่วมกันสรุปผลการศึกษาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องวิวัฒนาการ
โรงเรียนบ้านหนองพลวงมีอะไรบ้าง ที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นเป็นคนเก่ง คนดี และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข
8. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แจกใบงานที่ 1 ให้นักเรียนแต่กลุ่มปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วส่งให้ครูตรวจ
9. นักเรียนทำข้อทดสอบหลังเรียน 5 ข้อ
10. ครูตรวจข้อทดสอบ แจ้งคะแนนให้นักเรียนทราบ แล้วกรอกคะแนนลงใน
แบบบันทึกผล
11. มอบใบงานที่ 2 เรื่อง การสืบค้นข้อมูลให้นักเรียนกลุ่มที่ 1 – 3 ไปสืบค้นตามที่
นักเรียน
กลุ่มที่ 3 ไปสอบถามจากคุณครู โดยให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน
5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. . หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง
2. ใบงานที่ 1 แบบฟอร์มการทำรายงานกิจกรรมกลุ่ม
3. ใบงานที่ 2 แบบฟอร์มการสืบค้นข้อมูล ตามกิจกรรมที่ 6 ข้อ 1) – 5)
6. กระบวนการวัดผลและประเมินผล
1. วิธีการวัดผล
                - ทดสอบก่อนเรียน
                - ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                - ทดสอบหลังเรียน
2.เครื่องมือวัดผล
- ทดสอบก่อนเรียน
                - ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                - ทดสอบหลังเรียน
3. เกณฑ์การวัดและประเมินผล
- คะแนนเฉลี่ย 70 %ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
- คะแนนเฉลี่ย 80 %ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
7. กิจกรรมเสนอแนะ
นำหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง วิวัฒนาการโรงเรียนบ้านหนองพลวง วางไว้บนชั้นหนังสือใหม่สัปดาห์นี้ ให้นักเรียนได้อ่านเพิ่มเติมในเวลาว่าง

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ปราสาทเขาพระวิหาร
      กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง
          จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรมเนื่องมาจากพื้อนที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จากการที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบสาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี
กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
วิเคราะห์กรณี mou43
          ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อาว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
          ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
กรณี คนไทย 7 คน
          จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง  ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน  และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ  เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกแต่เขากลับชนะแล้วยังได้ดินแดนไปด้วย
ดังนั้น  รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่แข็งและเป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ

กิจกรรมที่ 9

สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์แบบครูมืออาชีพ
 กับ ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส

ประเด็นสำคัญ ในบทความเรื่องนี้ก็ คือ จะเน้นในผู้เรียนเป็นสำคัญตัวนักเรียนเป็นหลักการเรียนนั้นไม่ใช่ว่าจะแค่เรียน ๆ ไปแค่ให้รู้แต่จะต้องเรียนแล้วต้องรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียน สามารถที่จะวิเคราะห์ต่อยอดความคิดให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนไปเพื่อให้รู้รากเหง้าของตนเองเกิดความหวงแหนรักชาติ มีความผูกพันและจพไม่คิดทำร้ายชาติสามารถที่จะนำประสบการณ์จากอดีตมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน  สังคมขอเราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมรับวัฒนธรรมจากที่อื่นมาแต่เราจะต้องไม่ลืมวัฒนธรรมของตนเอง ในสังคมปัจจุบันการมีสื่อที่ทันสมัยในหลายๆด้านจะต้องจักการจัดการข้อมูลข่าวสาร จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่าครูกับนักเรียนร่วมกัน
การพัฒนาครูมืออาชีพ การจะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ครูจะมีการทำอย่างไร มีการอบรมครูที่เป็นโครงการพัฒนาครู 4 ภูมิภาคเช่น การแบ่งครูออกเป็นกลุ่มให้เลือกสถานที่ที่สนใจ
1.จะไปสืบอะไร               
2.ที่มาของประวัติ   
3.การแบ่งกลุ่มกันยังไง 
4.การนำเสนออย่างไร      
5.ประโยชน์  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าในปัจจุบันจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร อดีตเป็นบทเรียน อนาคตจะได้ไม่เสียหาย  ครูสามารถจะบูรณาการรายวิชาอื่นๆเข้ากันได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นการต่อยอดความคิด
นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร 
ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อน พัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจ ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาตนอยู่เสมอ  จะต้องเน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญพร้อมจะเปิดโอกาศเสนอแนะในสิ่งที่ขาดเป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก มีการวางแผนที่ดี
ทำให้เกิดตัวนักศึกษาได้คือ
1.การพัฒนาตนเองให้ทีความพร้อมในทุกๆด้านก่อนที่จะออกสังเกตกาเรียนการสอนก็ต้องวางแผนขั้นตอนลำดับการต่างๆให้ดี และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2.เปิดโอกาศให้ตนเองก่อนคือต้องกล้าทำ กล้าคิด
3.แสดงความคิดเห็นที่เหมาะสม
4.การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการสังเกตการเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

กิจกรรมที่ 8

วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
แนวทางความคิด ที่ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตนเองจากลักษณะต่อไปนี้
1.  เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคลากรในองค์กร  บริษัท  ห้างร้าน  สำนักงาน ฯลฯ  เป็นระบบสังคมที่มีระบบที่แน่นอน
2. เป็นมรดกขององค์กร  ถูกถ่ายทอดจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่ง  บุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้น  เป็นการสร้างความเจริญให้แก่วัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น
3.  เป็นที่รวบรวมของความคิด  ความเชื่อ  เจตคติ  ตลอดจนค่านิยมขององค์กร  เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร
4.  เป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร  เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้
5.  เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร  และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค
การพัฒนาองค์การ  เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ
วัตถุประสงค์ขององค์การ  มีดังนี้
            1.  เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
                  2.  เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
                  3. เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
รูปแบบในการพัฒนาองค์การ
1.  การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์
2.  การประชุมแบบเผชิญหน้า
3.  การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน
4.  กระบวนการให้การปรึกษา
5.  การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ
6.  การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์
ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ
        การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ  การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน  การลาป่วย  ลากิจ  ลดความขัดแย้งภายในองค์การ  ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง
กลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
                 1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
 2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
การประยุกต์ ใช้วัฒนธรรมองค์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากกล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

ที่มา : http://thainews.prd.go.th

กิจกรรมที่ 7


การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ
          การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2. การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3. ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
           4. การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
บทบาทของการเป็นผู้นำของครู
ออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน